วันจันทร์ที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2557

บำรุงไต - ดูแลสุขภาพในมุมมองของแพทย์จีน

       นาง มัลลิกา อายุ 34 ปี มีอาการอ่อนเพลียเรื้อรัง และมึนศรีษะอยู่เป็นประจำ อาการดังกล่าวเป็นมาร่วมปีแล้ว เธอไปตรวจร่างกายที่โรงพยาบาล แต่ว่าผลที่ออกมาก็ปรกติดีทุกอย่าง เธอจึงได้รับเพียงคำแนะนำว่าอย่าเครียดและยาปลอบใจ ให้เธอนำกลับมาบำรุงร่างกายต่อที่บ้าน แม้ว่าเธอจะทานยาที่ได้รับมา แต่อาการต่างๆที่เป็นก็ไม่ได้ทุเลาลง นอกจากนี้ก็ยังมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น ปัสสาวะบ่อย นอนไม่หลับ ขี้หนาว สะดุ้งตื่นอยู่เป็นประจำ ปวดเมื่อยตามร่างกาย ผิวหน้าหมองคล้ำ ผมร่วง เป็นต้น มันเกิดอะไรขึ้นกับนางกันแน่นะ?

       สารพัดอาการที่เกิดขึ้นกับนาง ถ้าลองวินิจฉัยตามหลักของแพทย์จีน ตีความได้ว่าเกิดจาก ภาวะไตอ่อนแอ ซึ่งเป็นศัพท์เฉพาะของการแพทย์จีนและ ไม่ใช่โรคไตในความหมายของแพทย์ตะวันตก โดยมีความหมายว่า สภาพของไตกำลังเสื่อมลง ไม่แข็งแรงเท่าที่ควร ทำให้ไตขับน้ำส่วนเกินและของเสียออกจากร่างกายน้อยง เกิดผลกระทบต่อดุลยภาพของอิเล็กโทรไลต์และความเป็นกรดด่างภายในร่างกาย รวมทั้งเกิดภาวะฮอร์โมนสำคัญหลายชนิดที่สร้างขึ้นจากไตและต่อมหมวกไตด้วย การเปลี่ยนแปลงทั้งหมดนี้จะนำไปสู่อาการผิดปกติของอวัยวะทุกส่วนของร่างกาย หากไม่มีการบำบัดรักษาอย่างทันท่วงที จะทำให้เกิดอาการแก่ก่อนวัยและพัฒนาไปเป็นโรคร้ายต่างๆ อันได้แก่ โรคหัวใจ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง อัมพฤกษ์ อัมพาต โรคเกาต์ ภูมิแพ้ หรือ แม้แต่โรคซึมเศร้า เป็นต้น หรืออาจจะพัฒนากลายเป็นโรคไตและไตวายในที่สุด

ไตคือรากฐานของชีวิต
          ไต (รวมทั้งต่อมหมวกไต) มีบทบาทที่สำคัญในการควบคุมการเจริญเติบโตของร่างกาย การพัฒนาสมอง การสร้างกระดูก การสร้างเม็ดเลือด สมรรถภาพทางเพศ การสืบพันธุ์และความชรา อีกทั้งยังมีความสัมพันธ์กับระบบการทำงานของหัวใจ ปอด ตับ ม้าม ระบบฮอร์โมน ระบบประสาทและระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายด้วย

หน้าที่การทำงานที่สำคัญของไต
  • ขับของเสียออกจากร่างกาย
  • รักษาภาวะสมดุลของน้ำและเกลือแร่ในร่างกาย
  • รักษาภาวะสมดุลของสภาวะความเป็นกรดและด่างในร่างกาย
  • ควบคุมความดันโลหิตของร่างกายให้อยู่ในสภาวะปรกติ
  • ควบคุมและสร้างฮอร์โมนที่สำคัญหลายชนิด
  • ควบคุมความแข็งแกร่งของกระดูก

สาเหตุที่ทำให้ไตเสื่อมเร็วกว่าปรกติ
        โดยทั่วไป ไตจะเสื่อมลงตั้งแต่อายุ 30 ปี ซึ่งเป็นความเสื่อมของร่างกายไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ แต่มีปัจจัยหลากอย่างที่จะทำให้ไตเสื่อมลงอย่างรวดเร็วก่อนไวอันควร เช่น กรรมพันธุ์ การมีเพศสัมพันธ์มากเกินควร ประสบอุบัติเหตุ ทำงานหนัก พักผ่อนไม่เพียงพอ ผลกระทบจากโรคเรื้อรังต่างๆ เป็นต้น
นอก
      นอกจากนี้ ปัจจัยเสี่ยงในชีวิตประจำวันก็มีผลทำให้ไตเสื่อม เช่น ผลข้างเคียงจากการใช้ยา ความเครียด มลภาวะที่เป็นพิษในปัจจุบัน สารตกค้างหรือยาฆ่าแมลงในผักผลไม้ ฮอร์โมนที่สะสมในเนื้อสัตว์ อาหารทะเลที่แช่ฟอร์มาลินหรือได้รับสารปนเปื้อนจากสิ่งแวดล้อม สารโซเดียมที่ผสมอยู่ตามอาหาร ขนมขบเคี้ยวและบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป รวมไปถึงการรับประทานอาหารรสจัด รสเค็ม และเครื่องดื่มที่ผสมสี ฯลฯ

ด้วยปัจจัยที่กล่าวมาข้างต้นนี้ ล้วนส่งผลต่อไต และทำให้ไตเสื่อมลงเร็วกว่าปกติ เราจึงเห็นบ่อยๆว่า ยังมีอีกหลากหลายคน ที่ยังหนุ่ม ยังสาว แต่มีอาการของภาวะไตอ่อนแออย่างครบครัน เช่นเดียวกับ นาง มัลลิกา

ในภาวะไตอ่อนแอจะแสดงอาการอย่างไรบ้าง
            ภาวะไตอ่อนแอจะแสดงอาการได้หลากหลายขึ้นอยู่กับระบบต่างๆ ของร่างกาย ซึ่งอาจจะแสดงอาการใดอาการหนึ่งหรือหลายๆอาการพร้อมๆกันเลยก็ได้ ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับสภาพความเสื่อมของไต อายุและระยะเวลาที่เรื้อรัง โดยจะจำแนกอาการตามระบบต่างๆดังนี้
  1. ระบบทางเดินปัสสาวะ  ปัสสาวะบ่อย โดยเฉพาะกลางคืน ปัสสาวะกะปริดกะปรอย กลั้นไม่อยู่ บวมน้ำตามร่างกาย ฯลฯ
  2. ระบบกล้ามเนื้อและกระดูก  ปวดหลัง ปวดเอว แขนขาอ่อนแรง ตะคริวบ่อย หนาวหรือชาปลายมือปลายเท้า ปวดตามข้อ กระดูกพรุน โรคเกาต์ ฯลฯ
  3. ระบบประสาท   นอนไม่หลับ ฝันบ่อย เวลานอนแขนขากระตุก หรือสะดุ้งตื่นเป็นประจำ หรือฝันว่าตกจากที่สูงจนตกใจตื่นเป็นประจำ ขี้หลงขี้ลืม ขาดสมาธิ วิงเวียนปวดศรีษะ ซึมเศร้า วิตกกังวล อ่อนเพลียเรื้อรัง ขี้หนาว ฯลฯ
  4. ระบบทางเดินอาหาร  เบื่ออาหาร ลำไส้แปรปรวน อุจจาระร่วงเป็นประจำ ท้องอืดท้องเฟ้อ ท้องผูก ฯลฯ
  5. ระบบภูมิต้านทาน  เป็นหวัดบ่อยหรือเป็นหวัดง่าย ลมพิษ สะเก็ดเงิน เริม SLE ฯลฯ
  6. ระบบทางเดินหายใจ  ระคายคอบ่อย ไอเรื้อรัง หอบหืด ฯลฯ
  7. ระบบสืบพันธุ์  หย่อนสมรรถภาพทางเพศ หลั่งเร็ว ประจำเดือนมาผิดปกติ ช่องคลอดไม่กระชับ มีบุตรยากหรือแท้งบุตร เข้าสู่วัยทองก่อนวัยอันควร ฯลฯ
  8. สภาพร่างกายภายนอก ผิวหน้าหมองคล้ำ หยาบกร้าน มีฝ้าบนใบหน้า ใต้ตาหมองคล้ำ หน้าอกหย่อนยาน ผมร่วง ผมหงอกก่อนวัย น้ำหนักขึ้นหรือลงอย่างฮวบฮาบ ฯลฯ
  9. หู-ตา  หูอื้อ ตาพร่า น้ำในหูไม่เท่ากัน ฯลฯ
วิธีการบำบัดแบบองค์รวมของการแพทย์จีน
         สำหรับอาการต่างๆ ที่เกินจากภาวะไตอ่อนแอ การแพทย์จีนแนะนำควรปรับพฤติกรรมในชีวิตประจำวันให้ถูกสุขลักษณะและควรรักษาแต่เนิ่นๆ เนื่องจากอาการของภาวะไตอ่อนแอมักจะเรื้อรังอย่างช้าๆ จนเราคุ้นเคยกับความผิดปกติของร่างกายถึงขนาดลืมไปแล้วว่าตอนปกติจริงๆนั้นเป็นอย่างไร ซึ่งเป็นเรื่องที่อันตรายอย่างยิ่ง นอกจากนี้ผลการตรวจการทำงานของไตตามหลักการแพทย์ตะวันตกที่ต้องรอให้ไตเสียไปมากกว่า 70% ถึงจะแสดงค่า BUN และ Creatinine ที่สูงขึ้นนั้น ก็เป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้คนจำนวนมากเข้าใจผิดและชะล่าใจว่า ถ้าผลตรวจดี แปลว่าไตยังแข็งแรงเป็นปรกติดีอยู่ ทั้งๆที่จริงๆแล้ว ไตอาจจะเสื่อมไปมากแล้วก็ตาม วิธีการรักษาทางการแพทย์จีนจะเน้นการบำรุงรักษาไตเป็นหลัก เพื่อบำบัดหลายๆอาการของภาวะไตอ่อนแอไปพร้อมๆกัน ทั้งๆที่แต่ละอาการดูเหมือนจะไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกันในมุมมองของการแพทย์ตะวันตกก็ตาม

เมื่อไตแข็งแรงขึ้น อาการของภาวะไตอ่อนแอทั้งหลายก็จะค่อยๆ ทุเลาลงหรืออาจหายไปในที่สุด


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น